วิธีลดการสึกหรอของผิวหน้าสายพานที่เกิดขึ้นจากการทำความสะอาด

0265

การสึกหรอของผิวหน้าสายพานนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณความร้อนที่เกิดขึ้นระหว่างใบทำความสะอาดสายพานกับผิวของสายพานลำเลียงที่สัมผัสเสียดสีกันอยู่ตลอดเวลา ในกรณีที่ใบทำความสะอาดสายพานทำจากอีลาสโตเมอร์ จะเกิดการสึกหรอในอัตราสูงขึ้นเมื่อเดินเครื่องโดยไม่มีวัสดุบนสายพาน งานวิจัยเกี่ยวกับ “Belt cleaner and top cover wear” โดย R. Todd Swinderman and Douglas Lindstrory เกี่ยวข้องกับประเด็นที่อุปกรณ์ทำความสะอาดสายพานที่มีผลต่ออายุการใช้งานของสายพาน ซึ่งผลจากการวิจัยพบว่า อุปกรณ์ทำความสะอาดสายพานก่อให้เกิดการสึกหรอของสายพานได้จริง แต่อัตราการสึกหรอนั้นน้อยกว่าการสึกหรอของสายพานที่ทำงานในสภาวะที่ไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ทำความสะอาดสายพาน เพราะการสึกหรอจากการที่วัสดุเกาะติดผิวสายพานมันมากกว่า

แรงกดที่ใช้งานและปริมาณของวัสดุที่ต้องขูดออกจากสายพาน ก็มีผลต่ออัตราการสึกหรอของทั้งสายพานและใบทำความสะอาดสายพานดังนั้น ควรต้องใช้แรงกดที่เหมาะสมเพื่อให้มีการสึกหรอของสายพานและใบทำความสะอาดสายพานให้น้อยที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับการทดสอบของ Bureau of Mines ผลของการทดสอบเปรียบเทียบอายุการใช้งานของสายพานกับความเสียหายของสายพานในการใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดและระบบซีลกันฝุ่น เทียบกับการไม่ใช้งานระบบใดเลยโดยทดสอบที่ประเทศอินเดียที่มากกว่า 300,000 ชม. การทำงาน ของสายพานทั้งหมด 213 เส้น ในการลำเลียงถ่านหินลิกไนต์, ปูนขาว และแร่เหล็ก ผลการทดสอบพบว่า ในกลุ่มที่ใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดสายพาน และระบบซีลกันฝุ่น มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 150% จากผลการทดสอบนี้แสดงว่าถึงแม้ว่าอุปกรณ์ทำความสะอาดสายพานจะนำมาซึ่งความสึกหรอของสายพานอยู่บ้าง แต่ท้ายที่สุดแล้วทั้งอุปกรณ์ทำความสะอาดสายพานและสายพาน ก็มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น http://www.thiansupa.com/